เมนู

แจกฌานอย่างละ 8 อีกอย่างหนึ่ง



[186] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป
นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย อารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน
ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป
นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่
ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ
รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้เห็นครอบงำรูป
รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯสฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ
รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ
รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ
นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำนั้น
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น สุขา-
ปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์
ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ
รูปนั้น บรรลุทุติฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
แจกฌานอย่างละ 8 อีกอย่าง จบ
[187] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ มีสีงามหรือมีสีไม่งาม ตั้งใจว่า
จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ทั้งมีสีงามและมีสีไม่งาม
ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อภิภายตนะแม้นี้ ก็แจกอย่างละ 8

[188] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีวรรณเขียว เขียวแท้ มีรัศมีเขียว
ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน
สมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม
สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองแท้
มีรัศมีเหลือง ฯลฯ เห็นรูปภายนอกที่แดง มีวรรณแดง แดงแท้ มีรัศมีแดง
ุฯลฯ เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีวรรณขาว ขาวแท้ มีรัศมีขาว ตั้งใจว่าจะรู้
จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ-
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
อภิภายตนะแม้เหล่านี้ ก็แจกอย่างละ 16

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายอภิภายตนะ



พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงรูปาวจรกุศลในกสิณ 8 ด้วยอาการ
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงรูปาวจรกุศลกล่าวคืออภิภายตนะแม้อื่นอีกที
เป็นไปในกสิณ 8 เหล่านี้ เพราะความที่อภิภายตนะเป็นภาวะที่ไม่เหมือนกันใน
ภาวนาในอารมณ์แม้ที่มีอยู่นั้น เพราะฉะนั้น จึงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม
ธมฺมา กุสลา
ดังนี้อีก.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กตเม ธมฺมา เป็นต้น.
บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี (ไม่มีบริกรรมรูปสัญญาในภายใน)
ความว่า เว้นบริกรรมสัญญาในอัชฌัตติกรูป เพราะการไม่ได้อัชฌัตติกรูป
หรือว่า เพราะไม่มีอัชฌัตติกรูป. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า
ย่อมเห็นรูปในกสิณ 8 ในภายนอกเหล่านั้น ด้วยอำนาจบริกรรม และอำนาจ
อัปปนา เพราะความที่ทำบริกรรมในกสิณ 8 ภายนอก. บทว่า ปริตฺตานิ
(เล็กน้อย) ได้แก่ มีอารมณ์ขยายไม่ได้. บทว่า ตานิ อภิภุยฺย (ครอบงำ
รูปเหล่านั้น) ความว่า บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ ผู้มีญาณนบริสุทธิ์คิดว่า จะมี
ประโยชน์อะไรที่ตนพึงเข้าสมาบัติในอารมณ์อันเล็กน้อยนี้ เพราะฉะนั้น รูป-
ธรรมนี้ จึงไม่ใช่ภาระของเรา ดังนี้ จึงครอบงำ (เว้น ) รูปเหล่านั้นเสียแล้ว
เข้าสมาบัติ คือ ยังอัปปนาให้เกิดขึ้นในฌานนี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต
เปรียบเหมือนบุคคลผู้บริโภคอาหารได้ข้าวมาเพียงทัพพีเดียวก็คิดว่า เราจะพึง
บริโภคอย่างไร ในภัตเพียงช้อนเดียวนี้ จึงรวมทำเป็นเพียงคำเดียวเท่านั้น
ฉะนั้น. ก็บุรพภาคของฌานนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยบทนี้ว่า ชานามิ ปสฺสามิ